วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตก่อตั้งขึ้นโดยดำริของท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต (ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์)
เมื่อปี พ.ศ. 2531 ในชื่อของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตในสาขาขาดแคลน เพื่อที่จะออกมารับใช้สังคม
อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป จึงจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตวิศวกร ซึ่งนับว่ายังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความ
ต้องการของประเทศ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีการรวมสามคณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะเทคโน
โลยีชีวภาพ เป็นกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (กวท.) โดยมีนโยบายที่จะให้ กวท. รับผิดชอบการจัดการการเรียนการสอน
ทั้งกลุ่มวิชาวิศวกรรมพื้นฐาน และเทคโนโลยีแก่นักศึกษาทุกคณะที่จะลงเรียนวิชาเหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วย 6 ภาควิชา
ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
ละเด่นชัดขึ้น เพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้แยกกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสามคณะ คือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะเทคโนโลยีชีวภาพ และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2545 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ถูก
ยกระดับขึ้นเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 7 ภาควิชา และ 3 ศูนย์บริการ และในปี 2548 ได้รวมภาควิชาที่ใกล้เคียงกัน
เข้าด้วยกัน เหลือเป็น 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์ และอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ และภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ต่อมาในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยได้ปรับโครงสร้าง
การบริหารใหม่ เพื่อทำให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แยกภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ออกเป็นภาควิชา
วิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จึงทำให้มีภาควิชาเพิ่มเป็น 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์
และอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ และภาควิชาวิศวกรรมโยธา
และสิ่งแวดล้อม และ 2 ศูนย์บริการ คือ ศูนย์บริการยานยนต์ และศูนย์บริการวิศวกรรม
เดือนสิงหาคม 2557 วิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว และเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 10 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ภาควิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และส่วนของศูนย์บริการวิชาการ มีจำนวน 3 ศูนย์ คือ
ศูนย์บริการวิศวกรรม ศูนย์บริการวิชาการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี และศูนย์วิจัย พัฒนา และอนุรักษ์พลังงาน
ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีระบบรางเป็นหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตไปสู่ตลาดแรงงานสำหรับ
รองรับเทคโนโลยีการขนส่งระบบรางในอนาคต
ปัจจุบันในปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นหลักสูตรใหม่อีกหนึ่งหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตไปสู่ตลาดแรงงานสำหรับรองรับเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยานที่มีการเจริญเติบโตในระบบการขนส่งทางอากาศทั้งภาย
ในประเทศและนอกประเทศ
|