หน้าแรก
เกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์
ทีมผู้บริหาร
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
หลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
นานาชาติ
ห้องปฏิบัติการ/ศูนย์บริการ
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
กิจกรรมนักศึกษา
ทุนการศึกษา
งานวิจัยและการสอน
RSU jet
ความร่วมมือระหว่างสถาบัน
ในประเทศ
ต่างประเทศ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
ติดต่อเรา
ที่อยุ่
Facebook
Youtube

ชื่อ : วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (College of Engineering)

ที่ตั้ง : อาคารวิษณุรัตน์ (ตึก 5) ชั้นที่ 2 มหาวิทยาลัยรังสิต ตำบลหลักหก หมู่บ้านเมืองเอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000

ประวัติ : วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต (ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์) เมื่อปี พ.ศ. 2531 ในชื่อของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตในสาขาขาดแคลน เพื่อที่จะออกมารับใช้สังคมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป จึงจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตวิศวกร ซึ่งนับว่ายังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีการรวมสามคณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (กวท.) โดยมีนโยบายที่จะให้ กวท. รับผิดชอบการจัดการการเรียนการสอนทั้งกลุ่มวิชาวิศวกรรมพื้นฐาน และเทคโนโลยีแก่นักศึกษาทุกคณะที่จะลงเรียนวิชาเหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วย 6 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยรังสิตมีนโยบายที่จะจัดรูปแบบขององค์การสำหรับการบริหารให้มีขนาดเล็กลงและเด่นชัดขึ้น เพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้แยกกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสามคณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะเทคโนโลยีชีวภาพ และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2545 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 7 ภาควิชา และ 3 ศูนย์บริการ และในปี 2548 ได้รวมภาควิชาที่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน เหลือเป็น 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์ และอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ และภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ต่อมาในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ เพื่อทำให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แยกภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ออกเป็นภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จึงทำให้มีภาควิชาเพิ่มเป็น 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์ และอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ และภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม และ 2 ศูนย์บริการ คือ ศูนย์บริการยานยนต์ และศูนย์บริการวิศวกรรม

เดือนสิงหาคม 2557 วิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 10 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และส่วนของศูนย์บริการวิชาการ มีจำนวน 3 ศูนย์ คือ ศูนย์บริการวิศวกรรม ศูนย์บริการวิชาการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี และศูนย์วิจัย พัฒนา และอนุรักษ์พลังงาน

ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีระบบรางเป็นหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตไปสู่ตลาดแรงงานสำหรับรองรับเทคโนโลยีการขนส่งระบบรางในอนาคต

ปัจจุบันในปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นหลักสูตรใหม่อีกหนึ่งหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตไปสู่ตลาดแรงงานสำหรับรองรับเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยานที่มีการเจริญเติบโตในระบบการขนส่งทางอากาศทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ

ปรัชญา : วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ “สร้างมืออาชีพ มีคุณธรรม พัฒนาเทคโนโลยี นำไทยก้าวไกล”

ปณิธาน (Pledge) : มุ่งสู่ความโดดเด่นทางวิชาการ บริการสังคม และเสริมสร้างจรรยาบรรณ

วิสัยทัศน์ (Vision) : วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างพลังขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

พันธกิจ (Mission) :

  1. ผลิตวิศวกรให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพ คุณธรรมและจรรยาบรรณ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการและการสื่อสารระดับนานาชาติ มาเป็นเครื่องมือในการประกอบวิชาชีพ
  2. สร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล เพื่อผลิตองค์ความรู้ สนองตอบความต้องการในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน สังคมและประเทศชาติ
  3. สนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตที่ดี และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
  4. เน้นการบริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และหน่วยงานภายนอก
  5. พัฒนาองค์กรและสร้างระบบบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพและคล่องตัว

หลักสูตรปริญญาตรีทั้งหมดจำนวน 12 หลักสูตร
  1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
  3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  6. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  7. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  8. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  9. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน
  10. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาซ่อมบำรุงอากาศยาน
  11. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  12. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบราง
หลักสูตรปริญญาโท จำนวน 2 หลักสูตร
  1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
หลักสูตรปริญญาเอกจำนวน 1 หลักสูตร
  1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

เครื่องหมายของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย ฟันเฟืองเปรียบเสมือนพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเครื่องหมายมหาวิทยาลัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า แก่ประเทศชาติอย่างแท้จริง เครื่องหมายของมหาวิทยาลัยรังสิต จึงประกอบด้วย โลกุตระ และดวงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่สาดส่องพรายแสงแห่งปัญญานำมรรคาเยาวชนสู่สภาวะความรู้แจ้งในธรรม เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้างสังคมธรรมาธิปไตยที่ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกต้องเป็นหลัก รวมความหมายถึง วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นแหล่งผลิตวิศวกร ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนการศึกษาให้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติอย่างแท้จริงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน